เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
24. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นโทษ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า
“ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ” ย่อมหยั่งลงสู่
สัมมัตตนิยาม
25. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแปรผันเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
26. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของไม่มีแก่นสาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีแก่นสาร”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
27. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นมูลแห่งความลำบาก ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่ง
ความลำบาก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
28. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นดังเพชฌฆาต ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อ
เห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
29. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นความเสื่อมไป ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเสื่อมไป”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
30. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีอาสวะ ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ”
ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
31. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของถูกปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ถูกปัจจัย
ปรุงแต่ง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
32. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นเหยื่อแห่งมาร ย่อมได้อนุโลมขันติ
เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่ง
มาร” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :602 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 9. วิปัสสนากถา
33. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเกิด” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
34. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความแก่” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
35. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
36. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความตาย” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
37. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ย่อม
ได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน
ไม่มีความเศร้าโศก” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
38. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความรำพันเป็นธรรมดา ย่อมได้
อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่
มีความรำพัน” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
39. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความคับแค้นใจเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานที่ไม่มีความคับแค้นใจ” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม
40. เมื่อเห็นเบญจขันธ์โดยเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา
ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อเห็นว่า “ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น
นิพพานไม่มีความเศร้าหมอง” ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :603 }